ธรรมชาติเป็นสิ่งที่น่าหลงใหล มันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก และยังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายหลายชนิดที่ยังไม่ถูกค้นพบ วันนี้เราลองมาดูการสืบพันธุ์ของสัตว์แต่ละประเภทในรูปแบบเข้าใจง่ายๆ ว่าสัตว์แต่ละประเภทมีจังหวะฟิทเจอริ่งยังไงบ้าง ^^
1. ไก่ป่า Grouses
เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ไก่ป่าตัวผู้จะวนเวียนหาตัวเมีย และหากตัวผู้ได้เจอกันก็จะต่อสู้เพื่อโชว์ถึงความสามารถให้ตัวเมียประทับใจ หากใครชนะก็จะได้ตัวเมียไปเชยชม
2. วงศ์นกปักษาสวรรค์
นกหลายๆสายพันธุ์ตัวผู้จะมีขนที่มีสีสันสวยงามมากกว่าตัวเมีย ในป่าที่พวกมันอาศัยอยู่จะอุดมไปด้วยอาหารตลอดทั้งปี แถมยังไม่ไม่ค่อยมีผู้ล่าให้ต้องกังวล ฉะนั้นนกตัวผู้จึงมีเวลาเหลือเฟือที่จะสนใจแต่เรื่องหาคู่ โดยทั้งชีวิตของมันแทบจะใช้ทั้งหมดไปกับการเต้นเกี้ยวพาราสีตัวเมีย
ตัวผู้จะมีพฤติกรรมผสมพันธุ์กับตัวเมียตัวเดิมตลอดช่วงของการเกี้ยวพาราสี หรือจะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว หรืออาจจะเป็นตัวเมียตัวเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกในช่วงเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์
ขณะที่ตัวเมียจะไม่มีปัญหา เนื่องจากตัวเมียจะเป็นฝ่ายที่เลือกตัวผู้จากลีลาการเต้นเกี้ยวพาราสี โดยจะใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันเพื่อมองเฟ้นหาตัวผู้ที่เหมาะสม ซึ่งถือเป็นการคัดเลือกทางเพศที่มีมาตั้งแต่อดีต
3. ลิงทามาริน
ลิงทามาริน สามารถมีครอบครัวได้หลายแบบทั้ง ชาย 1 หญิง 2 หรือชาย 2 หญิง 1 ก็ได้ เหตุผลที่เป็นเช่นนั้น เพราะว่าโดยปกติทามารินตัวเมียจะให้กำเนิดลูกแฝด และตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลเอาใจใส่ลูกเป็นหลัก
ในขณะที่ตัวเมียจะมีหน้าที่ให้นมลูกเท่านั้น ทั้งนี้การดูแลลูกทามารินหนึ่งตัว เป็นเรื่องที่ยากมาก ฉะนั้นแล้วการมีตัวผู้สองตัวเพื่อที่จะได้ช่วยกันดูแลลูก จึงสมเหตุสมผลที่สุด
4. กิ้งก่า Side-blotched lizard
กิ้งก่า Side-blotched lizard ตัวผู้จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ คอสีส้ม คอสีน้ำเงิน และคอเหลือง โดยแต่ละประเภทก็จะมีวิธีหาคู่ที่แตกต่างกัน
พวกคอสีส้มจะมีฮอร์โมนเพศผู้มากที่สุด โดยที่มันจะให้ความสำคัญกับการขยายอาณาเขต และมีคู่ครองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ว่ามันจะมีหน้าที่ปกป้องตัวเมีย แต่มันก็ไม่ได้จริงจังกับตัวเมียตัวไหนเลย และยังสามารถต่อสู้เอาชนะพวกคอสีน้ำเงินเพื่อแย่งอาณาเขตได้อีกด้วย
สำหรับสีน้ำเงินจะมีขนาดตัวเล็กกว่า มีฮอร์โมนเพศผู้น้อยกว่า มีอาณาเขตที่ใหญ่เพียงพอแค่ให้มีคู่ครองได้ตัวเดียว และมันก็จริงจังกับตัวเมียตัวนั้นด้วย พวกมันมีหน้าที่ปกป้องตัวเมียเช่นเดียวกับสีส้ม และต่อสู้กับผู้รุกรานจนกว่าจะแน่ใจว่าคู่ของมันปลอดภัย
และสุดท้ายคือพวกคอสีเหลือง พวกนี้จะมีสีที่ใกล้เคียงกับตัวเมียมาก และไม่มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง แต่จะเป็นหนึ่งในบริวารของคอสีส้ม และจะแอบเป็นชู้กับคู่ครองของสีส้ม เนื่องจากคอสีส้มไม่ได้ใส่ใจคู่ครองของมันเท่าไหร่ และตัวเมียเหล่านั้นก็ไม่แคร์ที่จะแอบเป้นชู้กับตัวผู้สีเหลืองด้วยเช่นกัน
5. ปลาปอมปาดัวร์
พ่อและแม่ปลาปอมปาดัวร์จะรักและเอาใจใส่ลูกๆของมันเป็นอย่างมาก โดยนับได้ว่าพ่อปลาปอมปาดัวร์ คือสัตว์ตัวผู้ที่มีความรักต่อลูกมากที่สุด ในอาณาจักร์แห่งสัตว์ทั้งปวง
ปลาปอมปาดัวร์เป็นสัตว์ประเภท Monogamous หรือที่เรียกว่ารักเดียวใจเดียว มีคู่เดียวตลอดชีวิต เมื่อครั้งถึงเวลาตัวเมียวางไข่ พวกมันทั้งคู่จะช่วงกันหาที่วางไข่ที่เหมาะสม และเมื่อวางไข่เสร็จ ตัวเมียจะมีหน้าที่ปกป้องไข่ทั้งหมด ส่วนตัวผู้ก็จะมีหน้าที่ปกป้องตัวเมียอีกที
6. แมงมุม Metellina Segmentata
โดยทั่วไปแมงมุมตัวผู้จะกลายเป็นเหยื่อของตัวเมียหลังจากเสร็จกิจกรรมการผสมพันธุ์ แต่สำหรับ Metellina Segmentata แล้ว
ตัวผู้จะป้องกันตนเองด้วยพันตัวเมียด้วยใยแมงมุมก่อนจะมีเพศสัมพันธุ์ และมันจะผสมพันธุ์ด้วยความรวดเร็ว เพราะตัวเมียนั้นจะพยายามดิ้นหลุดเพื่อมามีส่วนร่วมในกิจกรรมรักด้วยนั่นเอง
7. นกรัฟ
นกรัฟ เป็นนกที่มีความพิเศษในหลายๆด้าน เป็นหนึ่งในสายพันธุ์หายากที่นำเสนอตัวเองต่อตัวผู้ด้วยกัน มากกว่าที่จะนำเสนอตัวเองต่อตัวเมีย ด้วยเหตุผลที่ว่าพวกมันให้ความสำคัญต่อระบบชนชั้นนั่นเอง นอกจากนี้นกรัฟตัวผู้ยังแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งรูปร่างและพฤติกรรม แบบแรกคือพวกที่แข็งแรงและดุร้ายที่สุด มันใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการต่อสู้ และสร้างอาณาเขต
ส่วนแบบที่สองจะมีขนาดตัวเท่ากับแบบแรก แต่มีความแข็งแรงน้อยกว่า ความคล่องตัวน้อยกว่า และสีขนสวยน้อยกว่า พวกนี้จะไม่มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง แต่จะอาศัยอยู่ในอาณาเขตของจำพวกแรก และแอบเป็นชู้กับคู่ครองของจำพวกแรก
ส่วนนกรัฟจำพวกสุดท้าย จะมีขนาดเล็กกว่า ดูคล้ายตัวเมีย และไม่มีอาณาเขตเป็นของตัวเอง พวกมันจะเป็นชู้กับตัวเมียตัวอื่นๆ รวมไปถึงเป็นชู้กับตัวผู้ตัวอื่นด้วย!
8. ม้าน้ำ
ม้าน้ำตัวเมียจะมีส่วนที่คล้ายอวัยวะเพศชาย ซึ่งเรียกว่า อวัยวะวางไข่ (Ovipositor) ซึ่งตัวเมียจะสอดเจ้าอวัยวะที่ว่านี้ลงในถุงหน้าท้องของตัวผู้เพื่อวางไข่ และม้าน้ำตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่และฟักเป็นตัวอ่อนภายในถุงหน้าท้อง โดยตัวผู้จะมีหน้าที่อุ้มท้องแทนตัวเมีย
ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีความซื่อสัตว์ในความรัก และมีความอ่อนโยน เมื่อตัวผู้ตั้งท้อง ตัวเมียก็จะแวะมาเยี่ยมตัวผู้อยู่เสมอ พร้อมทั้งใช้เวลาอยู่ด้วยกันพอสมควร
9. มด
ราชินีมดจะจับคู่กับตัวผู้หลายตัว โดยเหล่าตัวผู้จะทิ้งสเปิร์มไว้ในตัวกระเปาะของราชินีมดเพื่อไว้ใช้ในภายหลัง ซึ่งสามารถเก็บได้นานถึง 10-20 ปีหรือมากกว่านั้น
ไข่ที่ได้รับการผสมน้ำเชื้อจะกลายเป็นตัวเมีย มดงาน และราชินี นอกนั้นจะกลายเป็นตัวผู้ที่มีหน้าที่แค่ผสมพันธุ์กับมดราชินี หรือจะพูดง่ายๆก็คือ มดตัวผู้ คือมดที่ไม่มีพ่อนั่นเอง
10. หมึกกระดอง
หมึกกระดองตัวที่ใหญ่ที่สุดและแข็งแรงที่สุด จะหาทำเลหินที่เหมาะสำหรับการวางไข่ หากตัวเมียเลือกตัวผู้ ตัวผู้ตัวนั้นก็จะปกป้องตัวเมียอยู่เป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อจะมั่นใจได้ว่าไม่มีตัวผู้ตัวไหนมาแย่งตัวเมียของมันไป
แต่ตัวเมียนั้นค่อนข้างเรื่องมากสักหน่อย เพราะจริงๆแล้วมันสนใจตัวผู้ที่ตัวเล็กกว่าและฉลาดกว่า ฉะนั้นมันจึงใช้ตัวใหญ่เพื่อเป็นเครื่องมือในการทดสอบตัวที่เล็กกว่าและฉลาดกว่า
แล้วตัวที่ฉลาดทำอย่างไรหล่ะ? ตัวผู้ที่ตัวเล็กกว่าและฉลาด จะปลอมตัวเป็นตัวเมีย และว่ายมาหาตัวผู้ตัวที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะเผยตัวตนที่แท้จริงให้กับตัวเมียตัวนั้น และทั้งคู่ก็กลายเป็นคู่รักกัน
11. ไฮยีน่าลายจุด
ไฮยีน่าลายจุดตัวเมีย จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและดุร้ายกว่าตัวผู้ ตัวเมียที่อยู่ในระดับล่างสุดก็ยังมีอำนาจมากกว่าตัวผู้ในทุกระดับ หรือแม้แต่ตัวผู้ที่โตเต็มวัย ก็ยังมีความกลัวเกรงต่อตัวเมียที่ยังเป็นเด็ก
แต่อย่างไรก็ตามตัวเมียผู้เป็นลูกสาว จะไม่แสดงความก้าวร้าวต่อพ่อ แต่จะแสดงความก้าวร้าวต่อตัวผู้ตัวอื่นๆแทน การร่วมเพศของไฮยีน่าตัวผู้จะเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะตัวเมียจะแข็งแรงกว่า
12. นกกีวี่
พวกมันเป็นนกที่ออกไข่ได้ฟองใหญ่ที่สุดในบรรดานกทั้งหมดเมื่อกับขนาดลำตัว ใหญ่มากขนาดที่ว่าเมื่ออยู่ในท้องตัวเมียจะหายใจลำบาก และวันสุดท้ายก่อนวางไข่ตัวเมียจะกินอะไรไม่ได้เลย
มื่อตัวเมียวางไข่เสร็จ ตัวผู้จำมีหน้าที่ฟักไข่แต่เพียงผู้เดียว และการฟักไข่จะใช้เวลานานมากถึง 2-3 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลานานที่สุดในบรรดานกทั้งหมด เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ลูกนกกีวี่จะอาศัยอยู่กับแม่เป็นเวลาสองสามปี ก่อนที่จะหากินได้ด้วยตัวเอง
ที่มา : Wittyfeed