Others

กู้ภัยสัตว์ช่วยลูกช้างเผือกตัวน้อย หลังติดกับดักนานถึง 4 วัน จนมีแผลเหมือนกับโจ๊กเกอร์

ลูกช้างเผือกได้รับความช่วยเหลือหลังจากที่ติดกับดักมาเป็นเวลา 4 วัน โดยมีอาการบาดเจ็บพร้อมกับมีรอยแผลเป็นบนหน้าที่ดูคล้ายกับตัวละครโจ๊กเกอร์จากภาพยนตร์เรื่องแบทแมน

ลูกช้างเผือกตัวน้อยเพศเมียนี้ มีชื่อว่า Khanyisa ผิวของมันพิเศษและแตกต่างจากช้างตัวอื่นๆ ที่ปกติมักจะมีผิวหนังสีเทา แต่มันกลับมีผิวหนังสีชมพูแทน มันถูกพบเข้าโดยลำพังขณะกำลังติดกับดักบริเวณพื้นที่เขตสงวนสัตว์ป่าซึ่งอยู่ติดกับอุทยานแห่งชาติ Kruger ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา

เจ้า Khanyisa ที่น่าสงสารนี้ มีบาดแผลที่หลังหูทั้งสองข้างลามถึงคอ อีกทั้ง ยังถูกรัดบริเวณแก้มจนทำให้มีแผลฉีกที่ปากทั้งสองข้างจนทำให้ดูเหมือนตัวละครโจ๊กเกอร์จากภาพยนตร์เรื่องแบทแมน

ด้วยบาดแผลในบริเวณแก้มทำให้เป็นรูตรงปาก แต่โชคดีที่เจ้า Khanyisa ถูกช่วยไว้ได้จากเหตุการณ์เลวร้ายนี้โดยองค์กร HERD (Hoedspruit Elephant Rehabilitation and Development) ที่คอยดูแลช่วยเหลือ หาถิ่นที่อยู่ใหม่และพัฒนาช้าง ซึ่งตอนนี้ เจ้า Khanyisa กำลังพักฟื้นในบ้านหลังใหม่ของมัน

Sue Howells เจ้าหน้าที่จากองค์กรนี้ กล่าวว่า เจ้าลูกช้างเผือก Khanyisa ตัวนี้ ช่างดูไร้เดียงสา เปราะบาง และบริสุทธิ์มาก แต่ก็มีความกล้าหาญมากด้วยเช่นกัน ที่สามารถรอดจากเคราะห์คราวนี้ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ได้

“พวกเราทราบดีว่า พวกเราจะต้องช่วยเหลือ ปกป้อง และพาเจ้า Khanyisa ไปอยู่ในที่ๆปลอดภัยและเยียวยาบาดแผลในใจของมันให้ได้”

“ถึงแม้ว่าเจ้า Khanyisa ยังเป็นเพียงลูกช้าง แต่มันก็มีความเข้มแข็งและกล้าหาญมาก”

“มันสามารถกลับมาร่าเริงและสดใสได้อีกครั้งในเวลาอันสั้น และยังมีจิตวิญญาณที่แข็งกล้าอีกด้วย”

“ไม่น่าเชื่อว่า ด้วยนิสัยของเจ้า Khanyisa ที่มีความน่ารักอ่อนหวาน อ่อนไหวง่าย และช่างครุ่นคิด จะนำพาไปสู่ความอดทนและเข้มแข็งที่ต้องเผชิญกับเรื่องราวอันน่าหดหู่ใจตั้งแต่อายุยังน้อยได้”

หลังจากที่ช่วยเหลือเจ้าลูกช้างเผือก Khanyisa มาได้ โดย Adine Roode ผู้เป็นหัวหน้าขององค์กร HERD จึงตัดสินใจตั้งชื่อให้แก่ลูกช้างเผือกตัวนี้ว่า Khanyisa โดยมีความหมายว่า แสงสว่าง ในภาษาบันตูของชาวโชนาใน สาธารณรัฐซิมบับเว

ตอนนี้เจ้า Khanyisa มีอาการดีขึ้นตามลำดับและมีความสุขอยู่ที่สถานเลี้ยงดูซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยและช่วยเหลือบรรดาลูกช้างที่ถูกรุกร้ำพื้นที่หรือกำพร้า

สถานที่ดูแลนี้ตั้งอยู่ที่เขตอนุรักษ์สัตว์ป่า Kapama Game Reserve ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างให้อยู่ใกล้กับบริเวณที่มีโขลงช้างอยู่

การดูแลและเลี้ยงดูบรรดาลูกช้างโดยให้อยู่ข้างๆ หรือ ใกล้ๆ กับโขลงช้างนั้น มีความคิดที่เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อด้านอารมณ์และจะช่วยให้พวกมันเข้ากับสังคมได้ง่ายขึ้น

ทางเว็บไซต์ของ HERD มีการอธิบายว่า “ลูกช้างที่ถูกช่วยเหลือและย้ายเข้ามาอยู่ในสถานเลี้ยงดูนั้น มักจะมีอาการบอบช้ำทางจิตใจอยู่แล้ว และกรณีที่พบอยู่บ่อยๆ มักจะเป็นภาวะขาดน้ำ ผิวหนังถูกแดดเผาและได้รับบาดเจ็บอีกด้วย”

“ด้วยความที่ช้างเป็นสัตว์ป่าที่มีความฉลาดและความซับซ้อนสูง พวกมันจึงมีความแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับสัตว์ป่าประเภทอื่นๆ”

“ช้างแต่ละตัวมีความต้องการที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องบริหารจัดการการดูแลอย่างเป็นพิเศษด้วยความรัก ความเอาใส่ใจ”

ที่มา : ladbible

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น