Dogs

ชาวพันทิปสงสัยว่า ไซบีเรียน ฮัสกี้ ติ๊งต๊องขนาดนี้ ในอดีตมันใช้ชีวิตอยู่มาได้อย่างไร

ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นสุนัขขนาดกลางที่มีถิ่นกำเนิดในแถบไซบีเรีย สุนัขพันธุ์นี้มีนิสัยฉลาด แสนซน และมีพลังเหลือล้น สามารถวิ่งในระยะทางหลายไมล์และวิ่งลากของหนักๆได้ด้วย ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้ไซบีเรียน ฮัสกี้เป็นสุนัขที่นิยมนำมาช่วยลากเลื่อน แต่ปัจจุบันตอนนี้ไซบีเรียน ฮัสกี้ กลายมาเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่คนเลี้ยงสุนัขนิยมไม่น้อย และกลายเป็นว่าพวกมันโด่งดังในเรื่องของความติ๊งต๊องมากกว่า จนทำให้มีชาวพันทิปคนหนึ่งตั้งกระทู้ถามว่า “ไซบีเรียนฮัสกี้ ติ๊งต๊องขนาดนี้ ในอดีตมันใช้ชีวิตอยู่มาได้อย่างไรครับ”

จากนั้นชาวเนตก็เข้ามาตอบคำถามกันอย่างมากมาย ส่วนใหญ่จากประสบการณ์จริงๆทั้งนั้น

เห็นได้ชัดว่าต๊องจริงๆ

ยืนยันคอนเฟิร์มอีกเสียง

หลากหลายคำตอบของชาวพันทิป

แต่ไม่ใช่มีไซบีเรียนที่จะติ๊งต๊องอย่างเดียวเท่านั้น ชาวพันทิปท่านหนึ่งก็แบ่งปันว่าไซบีเรียน ฮัสกี้ของเธอ มีนิสัยไม่เป็นมิตรกับคนแปลกหน้าซักเท่าไรด้วย

พาไปหาหมอต้องแขวนป้ายเตือนไว้ว่าดุมาก

ขนาดในแฟ้มประวัติของคุณหมอยังต้องลงกำกับไว้ว่า “ดุ”

ต่อไปเป็นสาระบ้างที่ว่าเจ้าไซบีเรียน ฮัสกี้มีชีวิตรอดมาได้ในปัจจุบันนี้ ประวัติของไซบีเรียน ฮัสกี้ เริ่มต้นจากชาวชุกชี (Chukchi) ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย เป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์สุนัขไซบีเรียนฮัสกี้ขึ้นมา เพื่อช่วยดูแลฝูงกวางเรนเดียร์และใช้ในการลากเลื่อนหิมะ แต่ต้นกำเนิดของสายพันธุ์นี้ก็ยังคงเป็นปริศนา ซึ่งคาดว่าไซบีเรียน ฮัสกี้น่าจะมีส่วนผสมของสุนัขหลายๆพันธุ์รวมกัน ชาวชุกชีต้องใช้เวลาหลายร้อยปีกว่าจะสามารถฝึกให้สุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขลากเลื่อนได้

ปี ค.ศ. 1909 เป็นปีแรกที่ชาวชุกชีได้นำสุนัขพันธุ์ไซบีเรียนฮัสกี้มาลงแข่งขันลากเลื่อน ซึ่งในอดีตการแข่งขันสุนัขนับว่าเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมาก ในการแข่งขันครั้งหนึ่ง สุนัขจะต้องวิ่งเป็นระยะทาง 400 ไมล์ จากเมืองโนม (Nome) ไปถึงเมืองแคนเดิล (Candle) ในรัฐอลาสกา ซึ่งเป็นเส้นทางที่เดินทางได้ยากลำบาก ด้วยความสามารถในการวิ่งและการลากเลื่อน ทำให้ไซบีเรียน ฮัสกี้ กลายมาเป็นสุนัขสายพันธุ์ต้นๆ ที่นิยมในการแข่งขันสุนัขในเวลาต่อมา

ทั้งนี้ในปีค.ศ. 1910 ชาร์ล ฟ็อกซ์ เมาเล แรมเซย์ (Charles Fox Maule Ramsay) ชายชาวสกอตแลนด์ ได้เล็งเห็นลักษณะและความสามารถของสุนัขพันธุ์นี้ จึงแนะนำให้ จอห์น ไอรอนแมน จอห์นสัน (John “Iron Man” Johnson) ผู้บังคับสุนัขลากเลื่อนใช้สุนัขไซบีเรียนฮัสกีลงแข่งขันลากเลื่อนในปีนั้น ส่งผลให้เอาชนะทีมคู่แข่งได้อย่างง่ายดาย และทีมของแรมเซย์ทีมอื่นๆ ที่ใช้ไซบีเรียนฮัสกีเป็นสุนัขลากเลื่อน ก็ยังเข้าเส้นชัยเป็นที่ 2 และที่ 4 ในการแข่งขันครั้งนั้นด้วย ในทศวรรษถัดมา สุนัขพันธุ์นี้ได้ถูกยกย่องให้เป็นพันธุ์ที่มีเกียรติสำหรับการแข่งขันลากเลื่อน โดยเฉพาะด้านความอดทนในการแข่งขัน

ในปี ค.ศ. 1925 เมืองโนม รัฐอลาสกาได้เกิดโรคระบาดจากสารพิษขึ้น ทำให้มีความต้องการยาต้านพิษอย่างเร่งด่วน จึงมีการจัดคนบังคับเลื่อน 20 คน และสุนัขลากเลื่อน 150 ตัว เพื่อขนส่งยาต้านพิษเป็นระยะทาง 674 ไมล์ข้ามรัฐอลาสกา ซึ่งใช้เวลาเดินทางเพียง 5 วันครึ่งเท่านั้น ถือว่าเป็นการเดินทางที่ใช้เวลาน้อยที่สุดเป็นประวัติการณ์

ทำให้สามารถช่วยผู้คนในเมืองโนมและชุมชนรอบข้างได้ เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า Great race of mercy หลังจากเหตุการณ์นี้ คนบังคับเลื่อนและสุนัขลากเลื่อนทั้งหมด กลายเป็นกลุ่มที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศอเมริกา และบัลโต () สุนัขไซบีเรียนฮัสกีหัวหน้าฝูงสุนัขลากเลื่อนที่ได้วิ่งนำเพื่อนๆ ในการวิ่งครั้งสุดท้ายเพื่อส่งเซรั่มไปยังเมืองโนม ก็ได้รับชื่อเสียงอย่างมาก จนมีการสร้างรูปปั้นไว้เป็นที่ระลึกในเซนทรัลปาร์ค (Central park) ที่นิวยอร์ค

10 เดือน หลังจากที่บัลโตได้วิ่งไปถึงเมืองโนม ความนิยมในไซบีเรียนฮัสกี ก็เริ่มแพร่ไปที่ประเทศแคนาดา และในปี ค.ศ. 1930 อเมริกัน เคนเน็ล คลับ (American Kennel club) สมาคมสุนัขแห่งอเมริกา ได้เริ่มทำความรู้จักสุนัขไซบีเรียน ฮัสกีมากขึ้นและเริ่มเป็นที่นิยมจากนั้นเป็นต้นมา

จากที่อ่านเรื่องราวและประวัติทำให้รู้จักเจ้าฮัสกี้มากยิ่งขึ้น พอกลับมาดูคอมเม้นท์จากชาวเนตรู้สึกว่าไซบีเรียน ฮัสกี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมายจริงๆ

ที่มา : Pantip / honestdocs

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น