Dogs

10 เรื่องจริงของน้องหมาที่อาศัยอยู่ในเมือง ที่พวกเราคาดไม่ถึง

ในความเป็นจริงแล้วสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของน้องหมาเป็นอย่างมาก น้องหมาในเมืองส่วนใหญ่จะต้องประสบชะตากรรมอะไรบ้าง ลองอ่านบทความนี้นะครับ

.

1. เพียงแค่ใน ก.ท.ม. มีน้องหมาจรจัดมากกว่า 1 แสนตัว

rf1

.

ในส่วนของประเทศไทยยังไม่ได้มีการนับจำนวนได้อย่างเป็นทางการในเขตกรุงเทพมหานคร บางสถาบันบอกว่า 2 แสน บางแห่งบอก 3 แสน เพราะในแต่ละปีจะมีน้องหมาถูกทิ้งเฉลี่ยมากกว่าปีละ 5 พันตัว แล้วน้องหมาตัวเมียก็สามารถมีลูกได้อีกราวๆ 5-6 ตัว

.

จึงไม่น่าแปลกใจที่น้องหมาจรจัดจึงมีเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งน้องหมาจรจัดแต่ละตัวต้องทนต่อความอดอยาก ความเหน็บหนาว ความหวาดกลัว โรคภัยอันตรายต่าง ๆ มีน้องหมาจรจัดหลายตัวที่ติดโรคพิษสุนัขบ้าและให้กำเนิดลูก ๆ มาสืบโทษเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายต่อผู้คนถึงขั้นเสียชีวิตนั่นเอง

.

2. ในแต่ละวันจะมีน้องหมาในศูนย์พักพิงทั่วโลก ถูกทำให้ตายด้วยวิธีการุณยฆาต

rf2

.

ในของประเทศไทยคงจะมีการการุณฆาตน้องหมาจรจัดแต่เนื่องจากประเทศไทยค่อนข้างอ่อนไหวกับเรื่องนี้ จึงไม่ได้มีทางการออกมาชี้แจงเกี่ยวกับการการุณยฆาตน้องหมาให้ประชาชนรับรู้

.

3. ในแต่ละปีมีคดีน้องหมาถูกทำร้ายร่างกายโดยเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น

rf3

.

ชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองมีพื้นที่จำกัด กำแพงบ้าน กำแพงรั้วติดเรียงกัน บางหมู่บ้านรั้วเตี้ยแค่ครึ่งตัว น้องหมาก็หลุดข้ามบ้านได้ง่ายๆ หรือเจ้าของบางคนมักพาน้องหมาไปขับถ่ายหน้าบ้านเพื่อนบ้านแล้วลืมเก็บ จนกลายเป็นประเด็นทะเลาะเบาะแว้ง เป็นเรื่องเป็นราว จนถึงขั้นทำร้ายร่างกายกัน หรือ ทำร้ายน้องหมา ทั้งวางยา ถูกทุบตี หรือ ถูกยิงจนเสียชีวิต จนเป็นคดีความไม่จบไม่สิ้น

.

ซึ่งตามกฏหมายแล้ว เพื่อนบ้านสามารถปกป้องทรัพย์สินของได้ก็จริง แต่ก็ไม่ควรทำเกินกว่าเหตุ ส่วนผู้เลี้ยงน้องหมาเองก็จำเป็นต้องควบคุมน้องหมาไม่ให้ออกไปนอกอาณาบริเวณ สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ไม่เช่นนั้นถือว่ามีโทษ แต่ด้วยความโมโหของเพื่อนบ้าน และทิฐิ การไร้ความรับผิดชอบของผู้เลี้ยงน้องหมา จึงเกิดความไม่เข้าใจกัน ต่างฝ่ายต่างเอาชนะ เอาความกัน ซึ่งท้ายที่สุดกลายเป็นว่าน้องหมาตาดำๆ ต้องมากลายเป็นเหยื่อ ถ้าไม่ถูกทำร้าย ก็อาจจะต้องกลายเป็นถูกทิ้ง

.

4. น้องหมาหลายตัวถูกทิ้งหลังจากเจ้าของมีปัญหากับทางอพาร์ตเม้นท์และคอนโดฯ

rf4

.

ในประเทศไทยลักษณะของอพาร์ตเม้นท์ หรือ คอนโดจะค่อนข้างแคบกว่าของต่างประเทศที่สามารถนำน้องหมาเลี้ยงได้ อีกทั้งบ้านเราค่อนข้างอ่อนไหวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่ทุกคนที่รักน้องหมาถึงขนาดสามารถให้น้องหมาอยู่ร่วมภายในบ้านหรือในห้องของตัวเอง อีกทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมก็ยังมีแตกต่างกัน จึงมีการออกข้อห้ามในการเลี้ยงสัตว์ตามอาคารที่พักต่าง ๆ นั่นเอง

.

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนรัก สงสารสัตว์ รวมถึงความต้องการเลี้ยงน้องหมาจนถึงขั้นแอบนำน้องหมาเข้าที่พัก ขึ้นคอนโดโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ แม้จะมีการอนุญาตแต่กลับไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของน้องหมาได้เมื่อพวกเขาต้องอยู่ตามลำพัง การขับถ่าย หรือ สร้างความไม่พอใจให้แก่เพื่อนบ้านได้ จึงทำให้เกิดปัญหา และหลายครั้งที่ผู้เลี้ยงตัดสินใจนำน้องหมาไปปล่อยตามสถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึง หน้าสถานสงเคราะห์สัตว์ กลายเป็นภาระสังคมต่อไป

.

5. ฉี่น้องหมาในเมืองอาจส่งผลทำให้มีสารไนโตรเจนสูงเกินค่ามาตรฐาน

rf5

.

มีนักปฐพีวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัย North Dakota State ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับฉี่น้องหมาที่มีอยู่มากในเขตเมืองจะส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืชและอากาศได้ หากมีในปริมาณที่มากเกินไป ยิ่งถ้าพื้นที่มีความลาดชันหรือเป็นดินทรายอาจทำให้เกิดการชะล้างสารประกอบไนโตรเจนจากหน้าดินลงไปในชั้นน้ำบาดาลได้ โดยเฉพาะน้องหมาในเขตเมืองที่มีอยู่อย่างหนาแน่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะแบบใหม่ในเมืองได้ อย่างเช่น ในกรุงเทพฯ มีประชากรน้องหมาทั้งหมาบ้านและหมาจรจัดสูงเกิน 700,000 ตัว ถ้าน้องหมาหมาแต่และตัวฉี่วันละ 800 มล. ก็จะมีฉี่ถึง 560,000 ลิตรเลยทีเดียว

.

6. น้องหมาในเขตเมืองเป็นโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น

rf6

.

น้องหมาบางสายพันธุ์มีโรคประจำสายพันธุ์เป็นโรคมะเร็ง เช่น ร็อตไวเลอร์ ลาบาดอร์ โกลเด้นฯ เยอรมัน เชฟเพิร์ด และ บ็อกเซอร์ เป็นต้น หากใครเลี้ยงน้องหมาสายพันธุ์ที่มีโอกาสเสี่ยงโรคมะเร็งก็ควรจะระวังเรื่องสุขภาพ พาไปตรวจร่างกายเป็นประจำ และ หลีกเลี่ยงการให้น้องหมาอยู่ใกล้แหล่งสารเคมี หรือควันพิษเป็นพิเศษ

.

7. น้องหมาในเมืองเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า

rf7

.

การอาศัยอยู่ในเมือง อยู่ในพื้นที่จำกัดพลังงานที่มีอยู่ก็ไม่ได้ใช้ ไม่ได้ออกไปพบปะสังคม เกิดความเหงา เจ้าของก็ไม่มีความเป็นจ่าฝูงมากพอจะทำให้พวกเขารู้สึกมั่นคงทางอารมณ์ แล้วเมื่อปัญหาเหล่านี้สะสมมากขึ้นก็จะก่อเป็นก่อเกิดเป็นความเครียด อ่อนไหวทางความรู้สึก หดหู่ ซึมเศร้า ไม่สามารถแยกห่างเจ้าของ หรืออยู่ลำพังได้ กลายเป็นน้องหมาไม่มีความสุข นำไปสู่พฤติกรรมก้าวร้าว สร้างความเดือนร้อนให้แก่ผู้เลี้ยงเพื่อนบ้าน ด้วยเหตุนี้เอง ควรพาไปออกกำลังกาย การฝึกฝนออกคำสั่ง พาไปเข้าสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญ

.

8. น้องหมาในเมืองมักเป็นโรคภูมิแพ้ ติดเชื้อทางเดินหายใจ ตา และ หู

rf8

.

ที่สหรัฐอเมริกาได้มีงานกรณีศึกษาระหว่างคุณภาพชีวิตของน้องหมาในเมืองกับชนบทพบว่า น้องหมาในเมืองนั้นเป็นโรคภูมิแพ้ โรคตา หูอักเสบ มากกว่าน้องหมาในชนบท อีกมั้งยังพบว่าน้องหมาต้องเจ็บป่วยทุกข์ทรมานจากโรคหลอดลมของปอดอักเสบแบบเรื้อรังอีกด้วย โดยน้องหมาส่วนใหญ่จะเป็นโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง ผิวแห้ง มีอาการคัน ซึ่งอาจเกิดมาจากการแพ้สารเคมี แพ้ฝุ่นจากพื้นปูน หรือ แพ้เสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นต้น

.

ในสหรัฐอเมริกาน้องหมามีปัญหาเกี่ยวกับภูมิแพ้ผิวหนังมากกว่า 7 ล้านตัวเลยทีเดียว แล้วจากสภาพอากาศที่ไม่ดี ควันพิษต่างๆ มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในอากาศ จึงไปกระตุ้นให้หลอดลมอักเสบ หรือ เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ ไอแห้ง ๆ หายใจขัด และ เป็นโรคปอดอักเสบได้ ผู้เลี้ยงจึงควรใส่ใจสภาพแวดล้อมรอบบ้าน ระมัดระวังเรื่องควันบุหรี่ ควันรถ รวมไปถึงเสียงดังต่างๆ แสงไฟจากจอคอมพิวเตอร์ เพื่อให้น้องหมามีสุขภาพที่ดีอยู่กับเราอย่างไม่เจ็บป่วย

.

9. น้องหมาในเมืองเสี่ยงเป็นโรคอ้วน

rf9

.

โรคท็อปฮิตของคนเมือง หมาเมืองเป็นอื่นใดไม่ได้นั่นก็คือโรคอ้วน สาเหตุหลักๆ ก็มาจากพื้นที่จำกัด ไม่มีพื้นที่เดิน วิ่ง ออกกำลังกาย ไลฟ์สไตล์ชีวิตค่อนข้างอยู่กับที่ อยู่แต่ในรถไม่ได้ไปไหน ผู้เลี้ยงบางคนรักการกิน กินเผื่อทั้งตัวเองทั้งน้องหมา เลยขยายขนาดไปพร้อม ๆ กัน ผู้เลี้ยงทำงานมืดค่ำ ไม่มีเวลาพาน้องหมาไปออกกำลังกาย น้องหมาก็นอนอยู่แต่ในบ้าน เดินวนไปมา เบื่อหน่ายก็หาอาหารกิน แล้วก็นอนตามเดิม ยิ่งสายพันธุ์น้องหมาที่เสี่ยงโรคอ้วนยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อน้องหมาอ้วนปุ๊กลุ๊ก โรคต่างๆ ก็จะถามหาไม่ว่าจะโรคหัวใจ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคเกี่ยวกับข้อ เกี่ยวกับกระดูก ผู้เลี้ยงควรหาเวลาพาน้องหมาไปออกกำลังกาย ให้กินแต่พาดี ไม่ต้องห่วงว่าน้องหมาจะหิว เมื่อทำตาละห้อยขอกินอาหาร ถ้าเป็นไปได้ควรคำนวนแคลอรี่การใช้พลังงานในแต่ละวัน กับพลังงานอาหารที่น้องหมากิน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้อย่างสมดุล แต่ถ้าไม่ต้องการยุ่งยากมาก พาไปออกกำลังกายเป็นวิธีที่ดีที่สุด

.

10. น้องหมาในเมืองมักมีอายุยืนกว่าน้องหมาชนบท (แต่ต้องอยู่กับโรคอย่างทรมาน)

rf10

.

อายุของน้องหมาในเมืองกับน้องหมาชนบท จากกรณีศึกษาต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานออกมาว่า น้องหมาหมาตามชนบทเฉลี่ยแล้วจะมีอายุสั้นกว่าน้องหมาในเมืองเนื่องมาจาก พวกเขามักวิ่งไปไหนมาไหนโดยปราศจากสายจูงทำให้ถูกรถชน เกินอุบัติเหตุได้ง่าย อีกทั้งยังมีโอกาสติดเชื้อจากปรสิต เชื้อแบคทีเรีย กินพืชที่มีพิษเข้าไป แล้วเมื่อป่วยก็มักไม่ได้รับการรักษา พาไปหาสัตวแพทย์ จึงไม่สามารถรับการรักษาได้ทันท่วงที แต่ในส่วนของการเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากสายพันธุ์ โรคเรื้อรังต่างๆ พบว่าน้องหมาตามชนบทเป็นน้อยกว่าน้องหมาในเมือง เนื่องจากอากาศดี ได้ออกกำลังกาย มีอิสระ สุขภาพจิตดีเลิศนั่นเอง

.

ในขณะที่น้องหมาในเมือง พวกเขามีอายุยืนกว่า เพราะอยู่ในบ้าน มีรั้วรอบขอบชิด ยากจะเกิดอันตราย เวลาออกนอกบ้านผู้เลี้ยงจะใส่สายจูง ปลอดภัยจากการถูกรถชน แล้วเมื่อเจ็บป่วยก็ได้รับการดูแล พาไปพบสัตวแพทย์ได้สะดวก แต่ทว่า สภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีในเมือง มีสิ่งเร้า สิ่งแปลกปลอม มากเกินไป และไม่มีพื้นที่การออกกำลังกาย จึงส่งผลให้น้องหมาเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ท้องร่วง อาเจียน ภูมิแพ้ รวมทั้งโรคต่าง ๆ เฉพาะสายพันธุ์ ซึ่งพวกเขาจะได้รับการรักษาไปเรื่อย ๆ แต่ก็ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ยากที่จะกลับมาหายขาด ต้องทนทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บจนสิ้นอายุขัยของพวกเขา

.

ที่มา : Doglike

หากคุณชื่นชอบเรื่อง หมาๆ แมวๆ และสัตว์โลกน่ารัก ติดตามได้ที่แฟนเพจ Dog vs Cat แมวซ่าส์ หมาบ๊องส์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น